คอนโดแบบ Leasehold กับ Freehold ต่างกันอย่างไร?

คอนโดแบบ Leasehold กับ Freehold ต่างกันอย่างไร?

คอนโด Freehold คืออะไร

คอนโด Freehold คือคอนโดที่คุณจะได้กรรมสิทธิ์ในห้องชุดนั้นไปตลอด! หมายความว่าคุณเป็นเจ้าของห้องชุดอย่างแท้จริง สามารถตกแต่ง ปรับปรุง หรือทำอะไรก็ได้ตามใจชอบที่อยู่บนสิทธิของคุณ แถมยังสามารถนำไปขายต่อ ปล่อยเช่า หรือมอบให้เป็นมรดกตกทอดแก่ลูกหลานได้อีกด้วย ใครที่ต้องการซื้อเพื่อลงทุนหรือเก็งกำไรการเลือกแบบ Freehold ก็ถือเป็นอีกตัวเลือกที่ดี

Freehold (กรรมสิทธิ์เต็มรูปแบบ)

  • ได้ กรรมสิทธิ์ทั้งห้องชุดและส่วนกลาง ตามกฎหมาย
  • สามารถถือครอง ตลอดชีพ และโอนต่อให้ลูกหลานได้
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการอยู่ระยะยาว หรือลงทุนระยะยาว

ข้อดี:
✔ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ 100%
✔ ขายต่อได้ง่าย ราคามีโอกาสเพิ่มขึ้น
✔ นำไปขอสินเชื่อธนาคารได้

ข้อเสีย:
✖ ราคาสูงกว่า Leasehold
✖ บางทำเลที่ดินอาจไม่มี Freehold ให้เลือก

คอนโด Leasehold คืออะไร

ในส่วนของคอนโด Leasehold คือเหมือนการเช่าห้องชุดระยะยาวโดยต้องชำระค่าเช่าตามงวด แต่เป็นการเช่าในระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนานอาจจะเป็น 30 ปี 50 ปี หรือมากกว่านั้น เมื่อครบกำหนดสัญญาคุณก็ต้องคืนห้องชุดให้กับเจ้าของโครงการ หรืออาจจะต่อสัญญาเช่าออกไปอีกก็ได้แต่ราคาที่ซื้อจะถูกกว่าคอนโด Freehold พอสมควร แต่ก็มีข้อเสียในเรื่องของการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ไม่ได้สิทธิขาดแบบการซื้อคอนโด Freehold

Leasehold (สิทธิการเช่า)

  • เป็นการถือ สิทธิการเช่า ระยะยาว (ปกติ 30-90 ปี) แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
  • หลังหมดสัญญา ต้องคืนให้เจ้าของที่ดินหรือโครงการ
  • เหมาะกับผู้ที่ต้องการอยู่ระยะสั้น หรือเพื่อการลงทุนที่ต้องการต้นทุนต่ำ

ข้อดี:
✔ ราคาถูกกว่า Freehold มาก
✔ เหมาะสำหรับการลงทุนระยะกลาง เช่น ปล่อยเช่า
✔ บางโครงการให้สิทธิ์ต่อสัญญา

ข้อเสีย:
✖ ไม่สามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้
✖ ขายต่อยาก เพราะราคาจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
✖ ไม่สามารถนำไปขอกู้ธนาคารได้ง่าย

กรรมสิทธิ์และการถือครอง

กรรมสิทธิ์และการถือครองในรูปแบบ Freehold ผู้ซื้อจะเป็นเจ้าของคอนโดและที่ดินใต้คอนโดอย่างสมบูรณ์ ไม่มีระยะเวลาหมดอายุในการถือครอง สามารถทำอะไรกับทรัพย์สินนั้นก็ได้ตามต้องการ เช่น ขายต่อ ปล่อยเช่า หรือโอนกรรมสิทธิ์ให้กับบุคคลอื่นหรือทายาท

ในส่วนของ Leasehold ผู้ซื้อจะได้รับสิทธิ์ในการถือครองและใช้ประโยชน์จากคอนโดตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาเช่า โดยทั่วไปคือ 30 ปี หรืออาจขยายได้ถึง 90 ปี เมื่อครบกำหนดระยะเวลา กรรมสิทธิ์จะต้องถูกส่งคืนให้กับผู้ให้เช่า

การขายต่อและการโอนกรรมสิทธิ์

ความแตกต่างของการขายต่อและการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่าง freehold vs leasehold คือจะต่างกันที่ Freehold สามารถขายต่อหรือโอนกรรมสิทธิ์ได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาหรือเงื่อนไขในสัญญา การขายต่อจึงทำได้ง่ายและมีความยืดหยุ่นมากกว่าสัญญาแบบ Leasehold ที่การขายต่อหรือโอนกรรมสิทธิ์จะต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เหลือในสัญญา

ภาษีและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

และส่วนสุดท้ายคือเรื่องของภาษีและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง Freehold จะมีค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์และภาษีที่สูงกว่า เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ซึ่งต้องจ่ายในวันที่ทำการซื้อขาย ต่างจาก Leasehold ที่มีค่าใช้จ่ายในวันที่ทำสัญญาเช่าที่น้อยกว่า แต่จะมีค่าเช่ารายปีหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ต้องจ่ายตลอดระยะเวลาที่ถือครองทรัพย์สิน ทำให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายต่อเนื่องในระยะยาว

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกระหว่าง Freehold และ Leasehold

การเลือกซื้อคอนโดไม่ว่าจะเป็นแบบ freehold vs leasehold คือควรพิจารณาจากปัจจัยหลายๆ ด้าน เพื่อให้การตัดสินใจของคุณคุ้มค่าและตอบโจทย์ความต้องการของคุณมากที่สุด นี่คือปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณาให้ดีก่อนทำสัญญาซื้อขาย

งบประมาณและความสามารถในการผ่อนชำระ

การตั้งงบประมาณเป็นสิ่งแรกที่คุณควรทำ เนื่องจากคอนโด Freehold มักจะมีราคาสูงกว่าคอนโด Leasehold ประมาณ 30-40% หากคุณมีงบประมาณจำกัด คอนโด Leasehold อาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่หากคุณมีความสามารถในการผ่อนชำระที่ดีและต้องการถือครองทรัพย์สินในระยะยาว คอนโด Freehold อาจตอบโจทย์มากกว่า

ทำเลที่ตั้งและศักยภาพการเติบโต

ทำเลที่ตั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อมูลค่าของคอนโด ทั้ง Freehold และ Leasehold ควรเลือกทำเลที่มีศักยภาพในการเติบโตและมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า แหล่งชุมชน หรือย่านธุรกิจ อาทิ โครงการคอนโดลาดพร้าว ที่มีทำเลที่ดีจะยิ่งช่วยเพิ่มมูลค่าของคอนโดในอนาคตและทำให้การลงทุนของคุณมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น

สรุปคอนโด Freehold vs Leasehold คือ

การเลือกซื้อคอนโดไม่ว่าจะเป็น Freehold หรือ Leasehold นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ วัตถุประสงค์การซื้อ ทำเลที่ตั้ง และระยะเวลาที่ต้องการถือครอง การทำความเข้าใจข้อดีและข้อเสียของแต่ละประเภท จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้อย่างมั่นใจและคุ้มค่ามากขึ้น